การยื่นขอใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
มอก. หรือ “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายในมอก.แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น ปัจจุบันสินค้าที่สมอ. กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 มาตรฐาน ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้
อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
เครื่องหมายมอก.
สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดมาตรฐานเพื่อรองรับความต้องการและการขยายตัวของอุตสาหกรรม ธุรกิจเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ปกป้องผู้บริโภค สิ่งแวดล้อมและรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานออกเป็น 2 ประเภท โดยแบ่งออกเป็นเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป (สมัครใจ) และเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
- เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป (สมัครใจ) เป็นเครื่องหมายที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานทั่วไป ผู้ผลิตสามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานได้ด้วยความสมัครใจ
2.
เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่เศรษฐกิจของประเทศ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้าและจำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น
บริการที่ปรึกษาเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
บริการที่ปรึกษาของเราจะทำให้การยื่นขอใบอนุญาตมอก. ของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้น เนื่องจากที่ปรึกษาของเรามีความรู้และประสบการณ์อย่างมากทางด้านมาตรฐาน เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจมอก.มาก่อน
ปัญหาที่พบบ่อยในการยื่นขอใบอนุญาตนั้น โดยมากเป็นการมองข้ามหรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อกำหนด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องจำเป็น.
ตัวอย่างของปัญหาที่พบบ่อย:
- การเตรียมตัวอย่างผิดชนิด หรือไม่ครบจำนวนที่ต้องการ
- ผลการตรวจโรงงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เนื่องจากขาดการเตรียมเอกสาร
- ยื่นเอกสารประกอบคำขอไม่ครบถ้วน
- ได้ใบรัีบรองที่ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ต้องการยื่นขอเนื่องจากขาดความเข้าใจในการยื่นขอ
คณะที่ปรึกษาของเรามีความรู้ และประสบการณ์ในการยื่นขอมาตรฐาน ดังนั้น ท่านจึงมั่นใจได้ว่าเราสามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ลดความล่าช้าในกระบวนการรวมทั้งหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจากความผิดพลาดในกระบวนการยื่นขอ บริการที่ปรึกษาของเรา เน้นให้ลูกค้าสามารถนำไปปฏิบัติและคงไว้ซึ่งระบบคุณภาพได้ นอกจากนี้บริการของเรายังแตกต่างจากที่ปรึกษาระบบคุณภาพ ISO9000 ซึ่งมีเอกสารให้ต้องจัดทำมากอีกทั้งต้องใช้ระยะเวลานาน เราสามารถให้คำปรึกษาให้ท่านได้รับใบอนุญาต มอก. โดยลดจำนวนเอกสารที่ไม่จำเป็นลงได้เพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรของลูกค้า
บริการที่ปรึกษาของเรา รวมถึง:
- ให้คำปรึกษาในการยื่นคำขอ ช่วยพิจารณาขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่จะยื่นขอให้คลอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการใบอนุญาตมากที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจากการยื่นคำขอหลายครั้งลง
- ตรวจประเมินเตรียมความพร้อมของระบบ Pre-Audit
- ให้คำปรึกษาจัดเตรียมเอกสารระบบคุณภาพตามข้อกำหนดของ มอก.
- ให้คำแนะนำในการจัดทำรายการทดสอบประจำที่มอก.ระบุและการบันทึกผล
- ให้คำปรึกษาในการจัดเตรียมตัวอย่าง
- ให้คำแนะนำในการเลือกใช้ผู้ตรวจสอบการทำ (IB) และผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ (LAB)
- จัดการฝึกอบรมให้บุคลากรสามารถคงไว้ซึ่งข้อกำหนดของมอก.หลังได้รับใบอนุญาต
- การบริหารและจัดการองค์กร
- การควบคุมเครื่องจักรอาคาร
- การออกแบบ
- การจัดซื้อและควบคุมวัตถุดิบ
- การควบคุมกระบวนการผลิต
- การควบคุมผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
- การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
- การชี้บ่งและสอบกลับได้
- การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
- การควบคุมเครื่องตรวจวัดทดสอบ
- ปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน
- การควบคุมเอกสารและบันทีึก
-
- การบริหารและจัดการองค์กร
- การควบคุมเครื่องจักรอาคาร
- การออกแบบ
- การจัดซื้อและควบคุมวัตถุดิบ
- การควบคุมกระบวนการผลิต
- การควบคุมผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
- การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
- การชี้บ่งและสอบกลับได้
- การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
- การควบคุมเครื่องตรวจวัดทดสอบ
- ปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน
- การควบคุมเอกสารและบันทีึก
TIS Standard Name |
Download Size |
||
กระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ : กระจกโซนเทมเปอร์ (มอก.198-2536) (8 p.) |
1,087 KB |
||
กระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ : กระจกเทมเปอร์ (มอก.197-2536) (6 p.) |
826 KB |
||
กระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์ : กระจกหลายชั้น (มอก.196-2536) (12 p.) |
1,566 KB |
||
กระจกโฟลต (มอก.880-2547) (13 p.) |
335 KB |
||
กระจกโฟลตสีตัดแสง (มอก.1344-2541) (12 p.) |
1,263 KB |
||
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัย (มอก.2062-2543) (24 p.) |
263 KB |
||
กระทะไฟฟ้า เฉพาะด้านความปลอดภัย (มอก.1509-2547) (9 p.) |
195 KB |
||
ก๊อกน้ำสำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม : การประหยัดน้ำ (มอก.2067-2544) (5 p.) |
121 KB |
||
โกลว์สตาร์เตอร์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ (มอก.183-2547) (25 p.) |
325 KB |
||
ข |
|||
ของเล่น เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป (มอก.685 เล่ม 1-2540) (38 p.) |
4,598 KB |
||
ของเล่น เล่ม 2 ภาชนะบรรจุและฉลาก (มอก.685 เล่ม 2-2540) (9 p.) |
1,069 KB |
||
ของเล่น เล่ม 3 วิธีทดสอบและวิเคราะห์ (มอก.685 เล่ม 3-2540) (38 p.) |
4,780 KB |
||
ขั้วรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์และขั้วรับสตาร์ตเตอร์ (มอก.344-2549) (75 p.) |
2,562 KB |
||
เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์ (มอก.721-2539) (22 p.) |